แบบสำรวจนักศึกษาอยูในระดับใด

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียงคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง คำนี้ข้าพเจ้าเคยได้ยินจากคุณครู พ่อ แม่ คนอื่นๆแต่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจนัก จนได้รู้จากผู้อำนวยการประจวบ บอกสันเทียะ ท่านได้บอกว่าการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการตัดสินใจ และการกระทำหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ“เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิตรากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเองสิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็มแต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป”พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อท่านตรัสเช่นนั้น ทำให้คนไทยได้ตระหนักถึงเรื่องความพอเพียง ที่คนไทยตอนนั้นรู้สึกว่าเราไม่ค่อยประหยัดเอาเสียเลย จึงเริ่มเดินตามรอยเท้าของพระองค์ท่าน ทำให้รู้ว่า ถ้าเราประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะลดลงประมาณ10,000บาท/เดือน และหากคนไทยประหยัดทุกคน รวมกันประมาณ600,000,000,000บาท จะช่วยประหยัดค่างบประมาณการใช้ในชีวิตประจำวัน และทำให้มีเงินเก็บมากขึ้น และนำไปใช้ในค่าใช้จ่ายอื่นๆเศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economyคำว่า Sufficiency Economy นี้ ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ.จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่…และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้นพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๕ ส่วน ดังนี้1.กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลาและเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีลักษณะพลวัตร มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤต เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา2.คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนา อย่างเป็นขั้นตอน3.คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency)จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ พร้อมๆ กัน ดังนี้oความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภค ที่อยู่ในระดับพอประมาณoความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆอย่างรอบคอบoการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล4.เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือoเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติoเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต5.แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือการพัฒนาที่สมดุลและสามารถพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ ความรู้และเทคโนโลยี“ถ้าไม่มีเศรษฐกิจพอเพียงเวลาไฟดับ…จะพังหมดจะทำอย่างไร. ที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าก็ต้องแย่ไป.…หากมีเศรษฐกิจพอเพียงแบบไม่เต็มที่ถ้าเรามีเครื่องปั่นไฟ ก็ใช้ปั่นไฟหรือถ้าขั้นโบราณกว่า มืดก็จุดเทียนคือมีทางแก้ไขปัญหาเสมอ…ฉะนั้นเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ก็มีเป็นขั้นๆแต่จะบอกว่าเศรษฐกิจพอเพียงนี้ให้พอเพียงเฉพาะตัวเองร้อยเปอร์เซ็นต์ นี่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จะต้องมีการแลกเปลี่ยน ต้องมีการช่วยกันพอเพียงในทฤษฎีในหลวงนี้ คือให้สามารถที่ดำเนินงานได้”(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๒)ข้าพเจ้าอยาก เชิญชวน ให้ทุกคนหันมาสนใจหลักแนวคิกเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันให้มีความสุขยิ่งขึ้น และหลังจากนี้ ขอให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงยิ่งยืนนาน ขอให้พระองค์ท่าน ทรงพระเจริญ เนื่องในโอกาสเฉลิมชนมพรรษาครบ80ปี ขอให้คนไทยหันมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ คุณครูชัยวัฒน์ ฝานชัยภูมิ คุณครูผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น